วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เกร็ดความรู้ สรรพคุณของผักต่างๆ

สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับผักและสรรพคุณ

อาหารประเภทผัก ผลไม้ เป็นอาหารธรรมชาติที่มีสารสำคัญที่เรียกว่า Phytonutrient (ไฟโตนิวเทรียนท์) มากมายหลายชนิด ไฟโตนิวเทรียนท์ เป็นสารธรรมชาติ ในผักผลไม้ที่เป็นสารสำคัญที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ ทั้งนี้ด้วยกลไกที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant )จากธรรมชาติ อนุมูลอิสระคือ โมเลกุลที่มีธาตุที่ไม่มั่นคงเนื่องจากขาดอิเลกตรอนไป 1ตัว อนุมูลอิสระถือเป็นสารพิษที่สำคัญต่อเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย ถ้ามีมากในเซลล์ก็เป็นอันตรายได้ โดยจะทำลาย ดีเอนเอ เยื่อหุ้มเซลล์ และองค์ประกอบอื่นๆของเซลล์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า อนุมูลอิสระเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นการก่อให้เกิดการอักเสบ ซึ่งเป็นการทำลายเนื้อเยื่อในระยะสั้น หรือมีผลในระยะยาวโดยเป็นสาเหตุของ ความเสื่อมหรือการแก่ของเซลล์ และอาจเป็นสารการก่อมะเร็ง โรคหัวใจ ต้อกระจก โรคทางภูมิคุ้มกันและโรคเรื้อรังอีกหลายชนิด
ไฟโตนิวเทรียนท์จากผักและผลไม้ถือเป็นแหล่งสำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก ปัจจุบันจึงมีการสนับสนุนให้ทานผักและผลไม้มากขึ้น ในผู้ที่ไม่สามารถจะทานผักและผลไม้ได้ หรือทานได้น้อย ปัจจุบันก็มีอาหารสุขภาพที่สกัดสารสำคัญจากผักและผลไม้ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภค
บล็อคโคลี่ (Broccoli) - มีสารไฟโตนิวเทรียนท์ที่เรียกว่า ซัลฟอร์ราเพน สูง บล็อคโคลี่สามารถช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ช่วยป้องกันโรคมะเร็งบางชนิดและช่วยขับสารพิษออกจากไต

ชาเขียว (Green Tea) - มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟีนอล สูง ซึ่งเรียกว่า คาเทคชิน ชาเขียวช่วยให้เซลล์ร่างกายแข็งแรงและช่วยป้องกันโรคร้ายและมะเร็ง นอกจากนี้ยังช่วยในกระบวนการลดน้ำหนักโดยการช่วยเผาผลาญไขมันเร็วขึ้น

ผักชีฝรั่ง (Parsley) - สมุนไพรที่ใช้ในการประกอบอาหารชนิดนี้ใช้ในการเสริมสร้างระบบย่อยอาหาร ผักชีฝรั่งประกอบไปด้วย คัวซิติน ซึ่งเป็นสารไฟโตนิวเทรียนท์ที่ช่วยรักษาภาวการณ์เกิดแผลในระบบย่อยอาหาร

มะเขือเทศ (Tomato) - สารไฟโตนิวเทรียนท์หลักจะพบในมะเขือเทศ เป็นที่รู้กันว่า ไลโคเพนเป็นสารต่อต้านมะเร็งและช่วย battle macular degeneration และช่วยเสริมสร้างหัวใจให้แข็งแรง

ตำลึง (Ivy Gourd) – ตำลึงอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์สูง เช่น สารเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และหัวใจขาดเลือด มีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก และฟัน และยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก ไนอาซิน วิตามินซีและอื่น ๆ นอกจากนี้ จากการค้นคว้าของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ตำลึงมีเส้นใยอาหารที่สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ในกระเพาะอาหาร อีกด้วย สำหรับตำรายาแผนโบราณ ตำลึงถือเป็นยาเย็น ใบช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการแพ้ อักเสบ แมลงมีพิษกัดต่อย แก้แสบคัน เจ็บตา ตาแดงและตาแฉะ แก้โรคผิวหนัง และลดน้ำตาลในเลือด
หัวหอม (Onion) - นานมาแล้วที่หัวหอมถูกนำมาใช้เพื่อคงไว้ซึ่งความมีสุขภาพดีของกล้ามเนื้อหัวใจ พืชในสปีชี่นี้และส่วนประกอบของมันมีผลต่อการแข็งตัวของเลือดและส่งผลกระทบในด้านบวกในปัจจัยเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ

ผักขม (Spinach) - เป็นพืชที่มีธาตุเหล็กสูงผักขมช่วยในการรักษาระดับธาตุเหล็กในเลือดรวมทั้งระดับพลังงานภายในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ

แครอท (Carrot) - มีเบต้า แครอทีน ในปริมาณสูง แครอทช่วยเสริมสร้างการมองเห็นและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงประสิทธิภาพ

ผักบีท (Beet) - ผักบีท มีส่วนประกอบที่เรียกว่า บีเทน ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบีทช่วยดำรงไว้ซึ่งสุขภาพตับที่ดีโดยการกำจัดไขมัน

แตงกวา (Cucumber) - แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้บวมอักเสบ ขับปัสสาวะ แก้หนองใน แก้ไข้ตัวร้อน แก้กระหายน้ำ แก้คอเจ็บ แก้ตาแดง แก้ไฟลวก แก้นิ่ว แก้ผดผื่นคัน แก้ขัดเบา ทำให้ผิวชุ่มชื้น แก้สิว

  หอมแดง (Shallot) - ขับลม ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ขับประจำเดือน แก้ไข้ แก้หวัด ช่วยย่อยอาหาร เจริญอาหาร

พริก (Red/Green Chili) - แก้บิด กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร ลดอาการอักเสบ ละลายลิ่มเลือด ป้องกันมะเร็งในลำไส้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น