วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เคล็ดลับ เเก้อาการเมารถ ได้ผลจริง

วิธีแก้อาการเมารถง่าย แบบได้ผลจริง เวียนหัว คลื่นไส้ขณะเดินทางป้องกันอย่างไรดี

6 วิธีแก้อาการเมารถง่าย แบบได้ผลจริง เวียนหัว คลื่นไส้ขณะเดินทางป้องกันอย่างไรดี
1. พยายามนั่งรถบริเวณส่วนหน้าของรถ ประสาทส่วนต่างๆ ของเราจะได้รับรู้ถึงจังหวะการเคลื่อนตัว รวมถึงอาการโคลงเคลงของรถได้ จากการทดลองพบว่าวิธีนี้ช่วยให้ผู้ชอบเมารถ มีอาการลดลงได้อย่างมาก ทั้งนี้ก็เพราะประสาทของเรารับรู้ความเคลื่อนไหวของรถ และปรับตัวตามนั่นเอง
2. ห้ามอ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์ในขณะที่กำลังนั่งรถ ทั้งนี้ก็เพราะจะทำให้ประสาท หรือสมาธิของเราจดจ่ออยู่ที่ตรงข้างหน้าเท่านั้น และอาการที่ตามมาก็คือร่างกายปรับสมดุลตามการเคลื่อนไหวของรถไม่ได้ อาการเมาจึงมักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีพฤติกรรมอ่านหนังสือ/เล่นโทรศัพท์บนรถ ดังนั้นในขณะนั่งรถ เราจึงไม่ควรจ้องหรือเพ่งอะไรอยู่ที่จุดเดียว และพยายามมองวิวทิวทัศน์ภายนอกบ่อยๆก็จะช่วยลดอาการลงได้
3. จิบหรือดื่มน้ำอัดลมในปริมาณพอเหมาะ วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่รู้สึกมวนท้องมากๆ เพราะน้ำอัดลมจะไปช่วยขับดันกรดในกระเพาะออกมา สามารถลดอาการมวนท้องลงได้พอสมควร และนอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการมวนท้องควรสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ในระหว่างที่เกิดอาการ ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยให้ความรู้สึกวิงเวียนนั้นลดลงได้ครับ
4. ยาหม่อง ยาดม ยาอม ยาหอม ช่วยท่านได้ เมื่อเริ่มมีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ ลองหยิบขึ้นมาสูดดมจะช่วยบรรเทาอาการได้ดีทีเดียว
5. กินยาแก้เมารถ เช่น ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) ปัจจุบันยาประเภทนี้มักมีขายตามร้านขายยาหรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป เหมาะสำหรับคนที่เริ่มมีอาการเมารถเกิดขึ้น ยาตัวนี้จะช่วยปรับความสมดุลของระบบประสาท ช่วยให้ร่างกายปรับตัวตามการเคลื่อนไหว หรือโคลงเคลงของรถ และขณะที่ยาตัวนี้กำลังออกฤทธิ์ จะทำให้ผู้ที่รับประทานเกิดอาการง่วงซึม แนะนำว่าให้หลับไปเลยก็ได้ครับ เพราะการนอนหลับระหว่างการเดินทางก็เป็นการแก้อาการเมารถชนิดหนึ่งเช่นกัน
6. รับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่นมะม่วง มะดัน หรือมะขาม ซึ่งรสเปรี้ยวจากผลไม้จะชนิดนี้จะสามารถช่วยลดอาการเมาหรือวิงเวียนลงได้พอสมควร แต่แนะนำว่าอย่ากินเยอะ เพราะจะเกิดกรดในกระเพาะ และทำให้ท้องเสียได้ ทีนี้แย่ยิ่งกว่าเมารถอีกนะครับ
นอกจากนี้ สำหรับคนที่ลองทำทุกวิธีแล้วยังไม่ได้ผล แนะนำให้ลงจากรถ แล้วหาที่ตั้งสติปรับสมดุลของร่างกายสักครู่แล้วค่อยออกเดินทางต่อ การที่ร่างกายได้พักและปรับตัวจะทำให้อาการเมารถลดลงได้เช่นกันครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น