ย่านางเป็นสมุนไพรรสจืด เป็นยาเย็น มีฤทธิ์ดับพิษร้อน คนจึงนำ ใบย่านาง ไปคั้นเป็นน้ำคลอโรฟิลล์ เพื่อเพิ่มความสดชื่น ปรับอุณหภูมิในร่างกาย และยังนำ ใบย่านาง ไปช่วยดับพิษไข้ ดับพิษของอาหาร แก้อาการผิดสำแดง แก้พิษเมา แก้เลือดตก แก้กำเดา ลดความร้อนได้ด้วย นอกจากใบแล้ว ส่วนอื่น ๆ ของ ย่านางก็มีประโยชน์เช่นกัน ทั้ง "ราก" ที่ใช้แก้ไข้พิษ ไข้หัด ไข้ฝีดาษ ไข้กาฬ ไข้ทับระดู "เถาย่านาง" ใช้แก้ไข ลดความร้อนในร่างกาย......
ขณะที่ข้อมูลทางเภสัชวิทยาระบุว่า ย่านาง ยังช่วยต้านมาลาเรีย ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ ต้านฮีสตามีน ส่วนข้อมูลทางโภชนาการระบุว่า ย่านางมีเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูง ซึ่งจะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย แถมยังอุดมไปด้วยเส้นในอาหาร แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัสย่านางจึงเป็นหนึ่งในจำนวนผักพื้นบ้านที่นักวิจัยแนะนำให้นำมาใช้ในรูปแบบอาหารเพื่อรักษาโรคมะเร็ง
ส่วนการศึกษาข้อมูลอื่นของย่านาง หมอเขียวได้ให้ความรู้เอาไว้ดังนี้
- *ใบย่านางกับการบำบัดโรค เช่น ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ปวดตา ตามัว กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดฝีหนอง น้ำเหลืองเสียตามร่างกาย ท้องผูก แสบท้อง มีผื่นที่ผิวหนัง ปื้นแดง มีตุ่มใสคัน เป็นเริม งูสวัด หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น อ่อนเพลีย เจ็บปลายลิ้น หูอื้อ ตาลาย เกร็ง ชัก โรคหัวใจ ไซนัสอักเสบ ตับอักเสบ กระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร มดลูกโต ตกขาว ตกเลือด ปวดมดลูก หอบหืด ไตอักเสบ ไตวาย นิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี ไส้เลื่อน ต่อมลูกหมากโต เบาหวาน เนิ้องอก มะเร็ง และพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เป็นต้น
- *ย่านาง...ปรุงรสเพื่อปรับสมดุลให้ร่างกาย การปรับสมดุลให้ร่างกาย สามารถทำได้โดยใช้ ใบย่านาง ในการเพิ่มคลอโรฟิลล์ คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกินไป ดังนี้
- เด็ก ใช้ ใบย่านาง 1-5 ใบต่อน้ำ 1-3 แก้ว (200-600 ซีซี)
- ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอมบาง เล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
- ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอมบาง เล็ก ทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
- ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วนถึงตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว โดยใช้ ใบย่านาง โขลกละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือปั่นในเครื่องปั่น (แต่การปั่นเครื่องปั่นไฟฟ้าจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็นของ ย่านาง) แล้วกรองผ่านกระชอนเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้ว วันละ 2-3 เวลา ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง หรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำเปล่าในอุณหภูมิห้องปกติ ควรดื่มภายใน 4 ชั่วโมงหลังจากทำน้ำ ย่านางเพราะถ้าปล่อยเกิน 4 ชั่วโมง มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวไม่เหมาะที่จะดื่ม ส่งผลให้เกิดภาวะร้อนเกิน แต่ถ้าแช่ในน้ำเย็นหรือตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วัน โดยให้สังเกตที่กลิ่นเหม็นเปรี้ยวเป็นหลัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น